จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ศิลปะบำบัด (Art Therapy)


        ศิลปะบำบัด (Art Therapy)  เป็นศาสตร์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นกระบวนการเยียวยา บำบัดรักษา ผู้ที่ขาดความสมดุลตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยนักศิลปะบำบัด ที่ผ่านการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และมีมาตราฐาน
อย่างในประเทศเยอรมัน จุดกำเนิดหนึ่งในศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ได้มีการเรียนการสอนในการผลิตนักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กร BVAKT (Berufeverbände für Anthroposophische Kunsttherapie in Deutschland)   ซึ่งความคิดและหลักปรัชญาในการทำงานศิลปะบำบัดนี้ได้ถูกสั่งสมมาเกือบ 100 ปี (ค.ศ. 1921–ปัจจุบัน)
โดยนักปรัชญา-นักฟิสิกส์นาม ดร. รูดอล์ฟ  สไตเนอร์ (Dr. Rudolf Steiner : ค.ศ. 1861–1925)  ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ ออกเป็นส่วน ๆ  แต่ยังเผยให้โลกล่วงรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับจิตวิญญาณของมนุษย์  โดยเฉพาะเรื่องสีนั้น สไตเนอร์ได้พูดถึงสีที่มีผลต่อสภาพจิตใจ (See and Sense) จากการค้นคว้าทางวิชาการและเรียบเรียงผลงานทฤษฎีสีของเกอเธ่ (Goethe, Colour Theory)  อีกทั้ง สไตเนอร์ยังได้เชื่อมโยงองค์ความรู้  ทั้งการแพทย์องค์รวม  การพัฒนาการของเด็ก  การศึกษาที่มีชีวิต  การบำบัด  ฯลฯ  ให้เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกัน
สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้แนวทางศิลปะบำบัดในแนวมนุษยปรัชญาในหลากหลายมิติ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน โดยมีการศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาอย่างจริงจัง และเผยเพร่ไปยังส่วนต่างๆ ดังนี้ ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์,  ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลมนารมย์,  ศิลปะบำบัดในโรงเรียนอนุบาลบ้านรัก,  ศิลปะบำบัดสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์,  ศิลปะบำบัดสำหรับเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลตุลาการ เป็นต้น   ซึ่งความรู้และความเข้าใจของศิลปะบำบัดในแนวทางนี้มีความน่าสนใจหลายประการต่อนักศิลปะบำบัดในหลากหลายแนวทาง  ตั้งแต่ครูการศึกษาพิเศษ ตลอดจนผู้ใฝ่ใจศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างศิลปะและจิตวิญญาณด้านใน
การเริ่มต้นของศิลปะบำบัด 
ศิลปะบำบัดในทางมนุษยปรัชญา  เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากแนวคิดมนุษยปรัชญา ( Anthroposophy )  ถูกคิดค้นโดย ดร.รูดอร์ฟ  สไตเนอร์ นักคิด นักปรัชญา นักฟิสิกข์ ชาวเยอรมัน ซึ่งให้ความหมายการทำงานเชิงบำบัดไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงการนำศิลปะแขนงต่างๆ มาช่วยให้มนุษย์เกิดความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ โดยมีนักศิลปะบำบัดที่ร่ำเรียนและฝึกฝนเป็นผู้ทำการบำบัด
 กระบวนการทำงานของเรา
การศึกษาศิลปะและศิลปะบำบัดในมนุษยปรัชญา มุ่งเน้นที่กระบวนการ (Process) ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การปั้น ดนตรี การเคลื่อนไหว ฯลฯ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ศิลปะบำบัดมิได้ต้องการความสำเร็จรูปของแนวทางการบำบัด นักศิลปะบำบัดควรวินิจฉัยและสังเคราะห์บทเรียนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดก็เช่นกัน ล้วนมีลำดับขั้นตอนต่อการทำงานดังนี้
  • ศึกษาประวัติเด็กจากแพทย์อย่างละเอียด ศึกษาคำวินิจฉัยและข้อมูลอื่น ๆ จากแพทย์
  • ศึกษาข้อมูลจากคอบครัว การพบกันครั้งแรกของนักบำบัดกับพ่อแม่จะได้มาซึ่งข้อมูลของเด็ก นับตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์,  พัฒนาการในวัยเด็ก,  นิสัย,  การเจ็บป่วยในปัจจุบัน,  การนอนของเด็ก,  การรับประทานอาหาร,  การปฏิสัมพันธ์กับสังคมและเพื่อนรอบข้าง,  ความถนัดซ้าย-ขวา,  การเจ็บป่วยนั้นส่งผลต่อเด็กและผู้คนในบ้านอย่างไร
  • ศึกษาข้อมูลจากครูประจำชั้น,  แพทย์ประจำโรงเรียน
  • ศึกษาข้อมูลจากเด็ก โดยใช้เวลาทั้งหมด 3 ครั้งแรก ทั้งนี้ให้เด็กได้ทำงานศิลปะ ได้แก่
            -  การวาดภาพลายเส้น (Drawing)
            -  การวาดภาพสีน้ำบนกระดาษเปียก (Painting wet on wet)
            -  การปั้นดิน (Modeling)
  • เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ นักศิลปะบำบัดได้เห็นเด็ก สภาวะภายในของเด็กที่สะท้อนออกมาจากผลงานศิลปะทั้ง  3  ครั้ง จึงสามารถเลือกหัวข้อและทิศทางในการวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดต่อไปได้อย่างถูกต้อง  
 คุณประโยชน์ 
ในการทำงานศิลปะบำบัดกับผู้ที่ขาดความสมดุลเป็นการมองการเยียวยาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งความคิด ความรู้สึก และเจตจำนง   ในปัจจุบันปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคมีสาเหตุมาจากจิตใจมากกว่าร่างกาย   ดังนั้น แพทย์ตามแนวมนุษยปรัชญาจึงใช้ศิลปะบำบัดร่วมในการรักษาด้วย  กระทั่งสามารถกล่าวได้ว่า ศิลปะบำบัดหมายถึงการฟื้นชีวิตอีกครั้งจากภายในหรือปรับดุลยภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้
  • ความคิด (Thinking)   
  • ความรู้สึก (Feeling)   
  • เจตจำนง (Willing)   
ที่มา : http://www.arttherapythai.com/arttherapy/index.php/arttheraphy.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น