จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลูกต้นไม้ประจำปีของชาติ

เมื่อวันที่ ๒๖ เดือน มิถุนายน ๒๕๕๕ นายพฤกษ์ โสโน ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๑ (สุราษฎร์ธานี) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าร่วมกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ประจำปีของชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยมี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน 

http://www.forest.go.th/suratthani_11/index.php?option=com_content&view=article&id=363%3A2012-07-03-04-m-s&catid=17%3Atw-default&lang=th

อุคิโยะเอะ (ukiyoe)


hokusai คาซึชิกะ โฮขุไซ "富嶽三十六景 神奈川沖浪裏" 1831-1835年 葛飾北斎 
ปัจจุบันวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกและเป็นที่นิยมคงจะเป็น การ์ตูนใช่ไหมครับ ถึงจะทำให้เป็นเกมส์ แต่ก็เรียกได้ว่า เป็น "อนิเมเกมส์" ในหมู่นักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น คนที่มีความสนใจในเรื่องญี่ปุ่น และเป็นแฟนอนิเมชั่นและการ์ตูนของญี่ปุ่นนั้น มีเยอะมากเลยทีเดียว หลังศตวรรษที่19 วัฒนธรรมบูมของญี่ปุ่นได้ฮือฮาอย่างมากที่ยุโรปเหมือนอย่างการ์ตูนและอนิเมชั่น นั้นก็คือ "ภาพวาดบันเทิงเริงรมย์ทางโลก"นั่นเอง "ภาพวาดบันเทิงเริงรมย์ทางโลก" นั้นในภาษาญี่ปุ่นมีชื่อว่า 浮世絵 อุคิโยะเอะ (ukiyoe) คำว่า "浮世"(ukiyo)นั้นแปลว่า ทางโลก ซึ่งเป็นภาพที่เขียนตามสภาพของโลกตามชื่อดังกล่าวนั้นนั่นเอง ส่วนคำว่า 「絵」(e)ที่แปลว่าภาพนั้น ถึงแม้จะแปลว่าภาพแต่ อุคิโยะเอะแต่ส่วนใหญ่ก็วาดลงในแผ่นไม้

อุคิโยะเอะเป็นวัฒนธรรมของสามัญชน

hokusai ยามะโตะเอะ 風神雷神図 1624年頃
ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีวัฒนธรรมของวัดวาอารามและของพวกเหล่าขุนนางมาตั้งแต่ยุคก่อน และมีภาพที่เรียกว่า "ยามะโตะเอะ"(大和絵)ที่มีไว้เพื่อพวกชนชั้นสูง แต่อย่างไรก็ตาม พอมาถึงยุคเอโดะวัฒนธรรมของสามัญชนก็เริ่มเฟื่องฟูขึ้น เหล่าพวกสามัญชนจึงเริ่มสนุกกับการเขียนภาพมากขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ อุคิโยะเอะนั่นเอง อุคิโยะเอะเริ่มปรากฎในกลางศตวรรษที่ 17 ในเวลานั้น ยังเป็น"ภาพที่วาดด้วยมือ(肉筆画nikuhitsuka) " ซึ่งเป็นชิ้นงานที่มีค่ามากเพราะนักวาดสามารถวาดได้ทีละใบเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้คนได้สนุกกับการวาดภาพ อุคิโยะเอะมากขึ้น จึงหันมาใช้ ภาพวาดแผ่นไม้ เพราะถ้าเป็นภาพวาดแผ่นไม้แล้ว หลังจากผู้วาดได้วาดภาพต้นฉบับแล้ว ก็สามารถตีพิมพ์ได้อีกหลายร้อยใบ ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 17ถึงตอนต้นของศตวรรษที่18นั้น ภาพวาดสีบนแผ่นไม้ที่เรียกว่า"( 錦絵nishikie)"นั้นก็ได้ปรากฎขึ้น เป็นภาพวาดสีบนแผ่นไม้ที่มีสีที่สวยงาม หลังจากนั้นต่อมา อุคิโยะเอะก็มีความสวยงามมากขึ้น เหล่าสามัญชนก็สามารถวาดภาพและสนุกสนานกับการวาดภาพได้มากขึ้น

อุทามะโระ และ ชาระขุ

utamaroอุคิโยะเอะนั้น ในเวลานั้นคนที่วาดภาพก็เป็นพวกที่มีชื่อเสียง เช่น นักซูโม่ นักแสดงละครคาบูกิ แล้วเหล่าแฟนคลับก็จะพากันมาซื้อภาพนั้น ที่เหมือนกับภาพถ่ายนักร้องดาราในปัจจุบัน จิตรกรที่เด่นๆก็มี อุทากาว่า อุทามะโระ (1753-1806)พวกเขาวาดภาพได้อย่างสวยงามและมีลายเส้นที่ประณีตเป็นอย่างมาก (ภาพ อุทามะโระ "寛政三美人" 喜多川歌麿) syarakuช่วงที่อุทามะโระมีผลงานนั้น โทชูไซ ชาระขุ เป็นคู่แข่งจิตรกรอีกท่านหนึ่ง ชาราขุนั้น ถนัดเรื่องการวาดภาพเหล่านักแสดงให้เกินจริง แต่เนื่องจากมีความโดดเด่นเฉพาะตัวมาก ภาพที่ดังๆดูเหมือนจะมีแค่ภาพเดียว ชาราขุเขียนภาพเพียงแค่ 10เดือนเท่านั้น คือ เดือนพฤษภาคม ปี1794 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ปี1795 จึงมีผู้สันนิษฐานว่าชาราขุใช้อีกชื่อหนึ่งของจิตรกรอีกคน ชาราขุนั้นเป็นชื่อปริศนา จริงๆแล้วเขาเป็นใคร แม้ในตอนนี้ก็ยังคงเป็นที่สงสัยของใครหลายคน (ภาพ โทชูไซ ชาระขุ "大谷鬼次の江戸兵衛" 東洲斎写楽)

โฮกุไซ และ ฮิโรชิเงะ

hokusaiหลังจากชาราขุแล้ว จิตรกรคนใหม่ก็ปรากฎขึ้น ชื่อ คาซึชิกะ โฮขุไซ ผู้เขียนภาพวิวทิวทัศน์เป็นเรื่องราวที่เรียกว่า "fugakusan jyuurokkei" เป็นภาพที่เขียนถึงวิวทิวทัศน์ที่มองเห็นภูเขาฟูจิเป็นจำนวน 36แผ่น ในช่วงนั้นการท่องเที่ยวบูมมาก อุคิโยะเอะของโฮกุไซเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นเนื่องจากคนในประเทศเริ่มท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ในสมัยนั้นทั้งวิดิโอและรูปภาพยังไม่มี และเป็นที่แน่นอน ทีวีก็ต้องไม่มีเหมือนกัน ดังนั้นจึงเรียก อุคิโยะเอะที่วาดภาพบรรยากาศแต่ละที่ว่า "meishoe"(ภาพสถานที่ที่มีชื่อเสียง)เหมือนกับกับนิตยสารท่องเที่ยวในปัจจุบัน (ภาพ คาซึชิกะ โฮขุไซ "冨嶽三十六景 尾州不二見原" 葛飾北斎) hokusai โฮกุไซเป็นคนที่มีความสามารถมาก เขามีอายุยืนยาวถึง 90ปี และได้หลงเหลือผลงานที่หลากหลาย เช่น การ์ตูนโฮขุไซที่รวบรวมแบบอย่างของภาพ hyakumonogatariและภาพต้นแบบที่เขียนเป็นภาพวิญญาณ และเป็นที่รู้จักในฐานะจิตรกรที่วาดภาพอุคิโยะเอะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (ภาพ คาซึชิกะ โฮขุไซ "北斎漫画" 葛飾北斎) hiroshigeจิตรกรที่ได้รับอิทธิพลของโฮกุไซคือ อันโต ฮิโรชิเกะ เขาได้สร้างผลงาน "toukaidou gojyuusantugi"ที่เขียนเล่าถึงสภาพของบ้านเรือนในเมืองตั้งแต่เอโดะ(โตเกียวในปัจจุบัน) จนถึงเกียวโต ในปัจจุบันรถไฟฟ้าชินคันเซนใช้เวลาเพียงแค่ 2ชั่วโมง 30นาที แต่ในสมัยนั้นใช้เวลาเดือนถึง 35วัน รัฐบาลทหาร(รัฐบาลญี่ปุ่นในปัจจุบัน)ได้จัดระเบียบการท่องเที่ยวของประชาชนในระยะไกล แต่อนุญาตในเรื่องของการสักการะศาลเจ้าอิเซะให้เพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น จากเอโดะถึงศาลเจ้าอิเซะนั้น ผลงาน"toukaidou gojyuusantugi"ของฮิโระชิเงะ ถึงแม่จะเป็นเพียงสิ่งที่ดึงดูดให้มาเที่ยวเท่านั้นแต่ดูเหมือนจะมีค่ามากเนื่องจากผ่านเส้นทางโทไกโด(โตเกียวถึงเกียวโต) (ภาพ อันโต ฮิโรชิเกะ "東海道五十三次之内 日本橋" 安藤広重)

ความนิยมของภาพทางโลกในยุโรป

hokusai Claude Monet-Madame Monet en costume japonais, 1876 Claude Monet
ในปี 1968 ได้มีการปฎิวัติที่เรียกว่าการปฎิรูปเมจิที่ญี่ปุ่น เพื่อทำให้สังคมทันสมัยขึ้นอย่างรวดเร็ว และญี่ปุ่นได้ปิดประเทศและรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างชาติจำกัดมากขึ้น แต่หลังจากการปฎิรูปเมจิญี่ปุ่นก็รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากขึ้น การพัดไปตามคลื่นของการเปลี่ยนเป็นสากลของญี่ปุ่นและต้องการให้ชาวโลกรับรู้วัฒนธรรมของญี่ปุ่นมากขึ้นนั้น ในยุโรปได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมทำให้การบูมของญี่ปุ่นมากขึ้นซึ่งเรียกว่า"japanism" ซึ่งเปรียบได้กับยุคเรอเนซองก์ การจัดเเฟร์นานาชาติที่ปารีสเนื่องจากการเกิด"japanism" ในช่วงเวลาที่จัดแฟร์ในปารีส ปี 1878และปี1867 รัฐบาลญี่ปุ่นจัดแสดงสินค้าหัตถกรรม และ ศิลปะมากมาย สำหรับชาวยุโรป เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ หนึ่งในนั้นก็มี อุคิโยะเอะ ด้วย  อุคิโยะเอะนั้นแตกต่างจากภาพวาดของยุโรปอย่างสิ้นเชิง อุคิโยะเอะที่ทำให้การวาดง่ายขึ้นอย่างมากนั้นเนื่องจากยุโรปที่เป็นศูนย์กลางของพวกเรียลลิสติกนั้น เป็นภาพวาดที่มีลักษณะเฉพาะ พวกจิตรกรหนุ่มสาวชาวยุโรปที่หาเทคนิคของการวาดภาพใหม่นั้นได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก ภายหลังพวกเขาได้ถูกปลูกฝังให้เป็นพวก"อิมเพรสชั่นนิสซึ่ม"ของการวาดภาพยุโรป จิตรกรที่โดดเด่นได้แก่ แวนโกะ โมเน่ มาเนท เดกัส ปีแยร์ ฟรันซิสโก โกแก็ง เป็นต้น hiroshigeจิตรกรที่มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะแฟนอาร์ตคนญี่ปุ่นคงต้องยกให้ แวนโกะ เขาได้มีผลงานออกมาหลายชิ้นซึ่งเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบ อุคิโยะเอะของฮิโระชิเกะ และ มีภาพถ่ายของผู้ที่รวบรวม อุคิโยะเอะ แม้จะเป็นจิตรกรนอกเหนือจากนี้ การทำให้ภาพวาดง่ายขึ้น เช่น ภาพไร้เงา ภาพมุมมองไกล ภาพสดใส และเริ่มใช้วิธีแบบใหม่ที่แสดงอารมณ์มากขึ้น ภาพเหล่านั้น เป็นลักษณะเฉพาะของภาพ อุคิโยะเอะที่ภาพยุโรปไม่มี (ภาพ Vincent van Gogh "Portrait of Pere Tanguy" 1887) อุคิโยะเอะที่ได้รับความนิยมทั่วโลก แต่เมื่อเข้ามาในศตวรรษที่ 20ก็เริ่มไม่ได้วาดแล้ว ศิลปะที่เป็นแรงบันดาลใจเริ่มพัฒนาขึ้น หนังสือพิมพ์และรูปถ่ายเริ่มแพร่หลายขึ้น เพราะวิธีขอุคิโยะเอะที่ใช้การวาดบนแผ่นไม้นั้นเริ่มล้าสมัยไปแล้ว syarakuในอีกด้านหนึ่ง ความนิยมของอุคิโยะเอะที่มีเอกลักษณ์ของ"japanism"มีมาถึงในปัจจุบัน ผู้รวบรวมอุคิโยะเอะในอดีตนั้นมีเป็นจำนวนมาก อุคิโยะเอะจริงๆถูกที่สุดแล้วมีมูลค่าหลายหมื่นเยน ผลงานที่มีชื่อนั้น ต้องใช้เงินหลายสิบล้าน ที่มูลค่าสูงที่สุด คงจะเป็นอุคิโยะเอะ "嵐竜蔵の金貸石部金吉"ของชาราขุที่ชนะการประมูลในมูลค่า 396000ยูโร (20ล้านบาท)ของการประมูลที่จัดขึ้นที่ปารีสในปี 2009 (ภาพ โทชูไซ ชาระขุ "嵐竜蔵の金貸石部金吉" 東洲斎写楽) และเป็นที่แน่นอนว่า มูลค่าที่สมน้ำสมเนื้อของโปสเตอร์และรีปรินท์นั้นได้นำวางจำหน่าย รวมถึงถูกแปะตามร้านอาหารของญี่ปุ่น อุคิโยะเอะนั้นถึงแม้จะผ่านไปกว่าร้อยปี ทำให้ผู้คนรู้สึกรื่นรมย์ไปกับการชมภาพ เนื่องจากมีลักษณะที่เฉพาะและเป็นที่รู้จัก By Noboru

ประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ปฏิวัติฝรั่งเศส

ปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในยุคใหม่ เมื่อพ.ศ.2332-2333 จัดได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรปโดยประชาชนครั้งแรกเลยก็ว่าได้ และได้สถาปนาเป็นสาธารณรัฐขึ้น. การปฏิวัตินี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์ยุโรปและสร้างความหวาดหวั่นกับพวกเหล่ากษัตริย์ประเทศอื่น ซึ่งเมื่อเหตุการณ์จบลง เชื้อพระวงศ์ต่างๆ ของยุโรปก็ให้ความสำคัญกับประชาชนมากขึ้นทีเดียว (กลัวโดนปฏิวัติล่ะซี้ เหอะๆ) 
 
   สาเหตุลึกๆ ที่ทำให้เกิดปฏิวัตินี้ ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม แต่ว่านั่นไม่ได้เป็นตัวเร่งชนวนระเบิดนี้ให้ระเบิดครับ ซึ่งเราจะว่ากันต่อไป
 
   เอาล่ะ เรามาอธิบายถึงสาเหตุลึกๆ แต่ละข้อกันดีกว่าครับ ข้อแรก ทางด้านสภาพทางสังคม สมัยนั้นสังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
 
   ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
 
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ ว่ากันว่าพวกนี้จะเป็นพวกที่กดขี่ประชาชนมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กดขี่โดยตรง แต่ให้ลูกน้องซึ่งเป็นขุนนางระดับ 2 และระดับ 3 ไปแทน และพวกนี้ได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติน้อย เมื่อเปรียบกับเบ๊ๆ ของพวกขุนนางระดับ 1
 
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก จึงพยายามหาวิธีมากมาย ทั้งเลียประจบ ทั้งยัดเงินมั่ง
 
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาขุนนางระดับอื่น ฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม อาจเป็นเพราะอัดอั้นตันใจหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ หรือไม่ก็ขุนนางระดับนี้ถูกฝึกมาให้ซาดิสต์ก็ไม่รู้ แต่ขุนนางระดับนี้นี่แหละ ที่ได้ผลกระทบ(ยำteen?) มากที่สุด
 
   นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
 
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้ส่วนมากจะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย แต่ก็ตายหยังเขียดด้วยฝีมือประชาชนผู้โดนกดขี่ และอาจจะเป็นไปได้ด้วยว่ามีนักบวชที่ถูกกดขี่ช่วยรุมยำ
 
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่ นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น และนักบวชเหล่านี้จำนวนไม่น้อยอยู่ข้างเหล่าประชาชน และอาจเป็นผู้กล่อมเกลาเป่าหูให้ประชาชนฮึดสู้กู้เสรีภาพของตนอีกกลุ่มก็ได้ แต่เท่าที่ผมรู้ รู้สึกว่าพวกนี้โดนหางเลขจากการปฏิวัติไปไม่น้อย จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่น่าสงสารที่สุด (ทั้งจน และโดนเข้าใจผิด ซวยซ้ำซวยซ้อนจริงๆ) 
 
   ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น) เรียกได้เลยว่าเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดและมีพลังมากที่สุด เพราะว่าสามารถจัดตั้งคณะปฏิรูปการปกครองระบอบสาธารณรัฐ อันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข (ไม่ใช่ว้อย!!!)ไปล้มล้างระบอบกษัตริย์ได้อย่างง่ายดาย 
 
 
 (นี่คือรูปของแกนนำคณะปฏิรูปการปกครองระบอบสาธารณรัฐ อันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข) ไอ้มั่วว้อย... พอเหอะ!!!~ \\(TT O  TT\\!!!)
 
   เหล่าและนักบวชบางส่วนซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อยถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก เพราะถูกปิดกั้นและถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ
 
    ข้อสอง การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย สืบเนื่องว่า เพราะระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าขุนนางที่ปกครองในแคว้นนั้นๆ ดีหรือไม่ดี อยากกินมากกินน้อย ค่าบรรณาการที่วังต้องการมากหรือน้อยเท่าใด) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหายุ่งยากเวลาตัดสินคดีของคนต่างแคว้น) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยห์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ประชาชนก็ยิ่งจนแกลบเข้าไปใหญ่ ทำให้ต้องหาวิธีการเอาตัวรอดและหาทางออกในการขูดรีดของราชสำนักและรัฐ
 
   ข้อสาม ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่น วอลแตร์ และ รุสโซ มีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบๆ (แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าแนวคิดต่างๆ ของวอลแตร์และรุสโซนี่แหละ คือตัวชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีหนทางและความคิดขึ้นมาว่าควรทำอย่างไร จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นและก่อการปฏิวัติขึ้น)
 
สำหรับวันนี้ผมนำเสนอเพียงคร่าวๆ ก่อน ให้พอรู้จักสาเหตุ ลึกๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวคราวหน้าจะมานำเสนอต่อถึงสาเหตุหลักและลำดับเหตุการณ์โดยละเอียดครับ


ที่มา
http://tpy-history.exteen.com/20081224/entry-1

อารยธรรมอินเดีย

อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
      • เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
      • เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
  • สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
  • ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
 

เมืองฮารับปา

สุสานทัชมาฮาล

ตรีมูระติ เทพเจ้าของอินเดีย

แม่น้ำเนรัญชรา เมื่อยามแห้งแล้ง

อีกมุมมองหนึ่งของสุสานทัชมาฮาล

พระพุทธรูปแบบอมราวดี

พระพุทธรูปแบบคันธาระ

พระพุทธรูปแบบมถุรา

ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ
อารยธรรมอินเดีย
  • อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
    • เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
    • ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
  • สมัยพระเวท
    • เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
    • ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4
    • วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
      • คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท
      • มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
      • มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
      • คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
  • สมัยพุทธกาล
    • เกิดศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
    • เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
  • สมัยราชวงศ์เมารยะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
    • เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
    • พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
    • หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
  • สมัยราชวงศ์กุษาณะ
    • พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
    • ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
    • ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
  • สมัยราชวงศ์คุปตะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
    • เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
  • สมัยจักรวรรดิโมกุล
    • พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
    • เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
    • พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
    • พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
  • สมัยอาณานิคมอังกฤษ
    • ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
    • เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
    • ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
    • สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
      • รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา
      • การศาล การศึกษา
      • ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
  • สมัยเอกราช
    • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
    • มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
    • หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
    • แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)
 
ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
  • ด้านสถาปัตยกรรม
    • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
    • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
    • สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
  • ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
    • พระพุทธรูปแบบคันธาระ
    • พระพุทธรูปแบบมถุรา
    • พระพุทธรูปแบบอมราวดี
    • ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
  • จิตรกรรม
    • สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
  • นาฏศิลป์
    • เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
  • สังคีตศิลป์
    • ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
 
การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
 
      อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
     ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
     ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
                              ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้



ที่มา http://202.143.144.83/~skb/computor/ganjana/east_india_data.htm